วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สรุป-แบบฝึกหัด บทที่6-7

สรุปบทที่ 6
            รูปแบบของเทคโนโลยีของเครือข่ายหลักๆมี 4 แบบคือ
            -   โทโปโลยีแบบบัส  เป็นโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ลักษณะการทำงานของเครือข่าย โทโปโลยีแบบบัส คือ อุปกรณ์ทุกชิ้นหรือโหนดทุกโหนดในเครือข่าย จะต้องเชื่อมโยงเข้ากับสายสื่อสารหลักที่เรียกว่า  บัส
            -  โทโปโลยีแบบวงแหวน เป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้ากันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารจะถูกส่งจากโหนดหนึ่งไปยังอีกโหนดหนึ่ง วนอยู่ในเครือข่ายไปในทิศทางเหมือนวงแหวน ในแต่ละโหนดหรือสถานีจะมีรีพีตเตอร์ประจำโหนด 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข่าวสารที่จำเป็นต่อการสื่อสารในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูลที่ไหลผ่านมาจากสายสื่อสาร
            -  โทโปโลยีแบบดาว เป็นการเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสารที่มีลักษณะคล้ายรูปดาวหลายแฉก โดยมีสถานีกลางหรือฮับเป็นจุดผ่านการติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย
            -  โทโปโลยีแบบผสม เป็นเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลแบบผสมระหว่างเครือข่ายแบบใดแบบหนึ่งหรือมากกว่า เพื่อความถูกต้องแน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการและภาพรวมขององค์การ
            ปัจจุบันช่องทางการติดต่อสื่อสารมีอยู่ 2 ลักษณะ ซึ่งมีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการใช้งานที่แตกต่างกัน ได้แก่ การสื่อสารแบบมีสาย เช่น สายเกลียวคู่หรือสายโทรศัพท์ สายโคแอกเซียลและสายใยแก้วนำแสง และระบบสื่อสารแบบไร้สาย เช่น คลื่นสั้น และดาวเทียม โดยช่องทางการติดต่อสื่อสารแต่ละลักษณะจะมีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ สัญญาณแบบแอนะล็อกและสัญญาณแบบดิจิตอล ส่วนอุปกรณ์สนับสนุนการติดต่อสื่อสารสำคัญมีดังนี้ อุปกรณ์ประมวลผลหน้า อุปกรณ์รวบรวม และอุปกรณ์ควบคุม


แบบฝึกหัดบทที่6
1)  ระบบเครือข่ายสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์มีอิทธิพลต่อการพัฒนา และการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจอย่างไร
ตอบ  เป็นระบบสารสนเทศที่เปรียบเสมือนระบบประสาทและสมองที่ควบคุมการทำงานภายใน รับสัมผัส และตอบสนองต่อภายนอก

2)  ระบบเครือข่ายแบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง
ตอบ  4 ชนิด คือ
            -  ระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่
            -  ระบบเครือข่ายเฉพาะเขตเมือง
            -  ระบบเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่
            -  ระบบเครือข่ายระหว่างประเทศ

3)  ระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่ (LAN) และระบบเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่ (WAN) มีความแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ    LAN   เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ในระยะใกล้เข้าด้วยกัน
            WAN  เป็นระบบที่ติดต่อโดยการใช้คลื่นไมโครเวฟและดาวเทียมเข้าช่วย เพื่อให้การสื่อสารข้อมูลมีประสิทธิภาพ

4)  จงเปรียบเทียบคุณสมบัติและประสิทธิภาพของช่องทางการสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ตอบ  ช่องทางการติดต่อสื่อสารเป็นตัวกลางที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ เพื่อที่จะให้ช่องทางส่งสัญญาณและส่งผ่านข้อมูลระหว่างกัน

5)  รูปแบบของโทโปโลยีของเครือข่ายแบ่งออกเป็นกี่แบบ อะไรบ้าง
ตอบ  มี 4 รูปแบบ คือ
            -  โทโปโลยีแบบบัส
            -  โทโปโลยีแบบวงแหวน
            -  โทโปโลยีแบบดาว
            -  โทโปโลยีแบบผสม
6)  ช่องทางการติดต่อสื่อสารแบ่งออกเป็นกี่ลักษณะ อะไรบ้าง
ตอบ  มี 2 ลักษณะ คือ
            -  ระบบสื่อสารแบบมีสาย
            -  ระบบสื่อสารแบบไร้สาย

7)  สายเกลียวคู่หรือสายโทรศัพท์ สายโคแอกเซียล และสายใยแก้วนำแสง มีความแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ    สายเกลียวคู่ คือ สายที่มีเส้นลวด 2 เส้นพันกันเป็นเกลียว โดยมีฉนวนห่อหุ้มเส้นลวดเกลียวคู่แต่ละเส้นไว้ เหตุที่เส้นลวดพันกันเป็นเกลียวก็เพื่อลดเสียงรบกวน การส่งข้อมูลด้วยสายเกลียวคู่นี้มักเป็นการส่งสัญญาณเสียง
            สายโคแอกเซียล มีลักษณะเป็นสายกระบอกที่ทำด้วยทองแดง และมีลวดตัวนำอยู่ตรงกลาง ระหว่างลวดตัวนำและทองแดงจะมีฉนวนห่อหุ้มสายโคแอกซ์ สามารถส่งข้อมูลได้รวดเร็วและมากกว่าสายเกลียวคู่ ตลอดจนช่วยป้องกันการรบกวนในการติดต่อสื่อสารได้ดีกว่าสายเกลียวคู่
            สายใยแก้วนำแสง มีลักษณะเป็นเส้นบางๆ คล้ายเส้นใยแก้ว โดยข้อมูลจะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณแสงและส่งผ่านไปตามเส้นใยด้วยความเร็วแสง จึงทำให้เส้นใยนำแสงสามารถส่งข้อมูลจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว ชัดเจน ทนทาน และป้องกันการรบกวนได้ดีกว่าเส้นลวดชนิดต่างๆ

8)  จงอธิบายความแตกต่างระหว่างสัญญาณแบบแอนาล็อก กับสัญญาณแบบดิจิตอล
ตอบ    แบบที่ 1 จะเป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง ระดับของสัญญาณ จะเปลี่ยนสูงหรือต่ำอย่างต่อเนื่อง ที่ทุกๆค่าเปลี่ยนแปลงไปของระดับสัญญาณจะมีความหมาย การส่งสัญญาณแบบนี้จะถูกรบกวนให้มีการแปลความหมายผิดพลาดได้ง่าย
            แบบที่ 2 ประกอบขึ้นจากระดับสัญญาณเพียง 2 ค่า คือ สัญญาณระดับสูงสุดและสัญญาณระดับต่ำสุด ดังนั้นจะมีประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือสูงกว่าแบบแอนะล็อก



สรุปบทที่ 7
            ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ หรือที่เรียกว่า DSS  เป็นระบบสารสนเทศที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ โดยที่ระบบนี้จะรวบรวมข้อมูลและแบบจำลองข้อมูลในการตัดสินใจที่สำคัญ เพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจในปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง  เราสามารถจำแนกส่วนประกอบของ DSS ออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้
            1.  อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับ DSS แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ อุปกรณ์ประมวลผล อุปกรณ์สื่อสาร และอุปกรณ์แสดงผล
            2.  ระบบการทำงานเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการที่จะทำให้ DSS ทำงานได้ตามวัตถุประสงค์และความต้องกาของผู้ใช้
            3.  ข้อมูลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกส่วนหนึ่ง DSS ไม่ว่า DSS จะประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย และได้รับการออกแบบระบบการทำงานให้สอดคล้องกันมากเพียงใด
            4.  บุคลากรจะเกี่ยวข้องกับ DSS ตั้งแต่การพัฒนา การออกแบบ และการใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ โดยที่เราสามารถแบ่งบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ DSS ออกเป็น 2 กลุ่ม ผู้ใช้และผู้สนับสนุนระบบ DSS        
            ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม หรือที่เรียกว่า GDSS เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในกาตัดสินใจของกลุ่ม ต้องขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ ดังนี้
            1. อุปกรณ์ อุปกรณ์ที่ได้รับการออกแบบให้สอดคล้องกันตามหลัก การยศาสตร์ จะมีส่วนช่วยอย่างมากในการสร้างความสอดคล้องระหว่างอุปกรณ์และผู้ใช้ในการทำงาน
            2.  ชุดคำสั่ง  ต้องมีลักษณะเหมาะสมในการรวบรวมและนำเสนอข้อมูล บ่งชี้ความจำเป็นก่อนหลังในการตัดสินปัญหาต่างๆ ช่วยส่งเสริมการแสดงความคิดเห็น เพื่อที่จะหาข้อสรุปของปัญหา
            3.  บุคลากร จะรวมถึงสมาชิกของกลุ่มตลอดจนผู้สนับสนุนในด้านต่างๆ ที่ทำให้การทำงานและการตัดสินใจของกลุ่มดำเนินไปอย่างเรียบร้อย
            ประโยชน์ของ GDSS มีดังนี้
            -  ช่วยในการเตรียมความพร้อมในการประชุม
            -  มีการจัดเตรียมข้อมูลและสารสนเทศที่เหมาะสมในการประชุม
            -  สร้างบรรยากาศในการร่วมมือกันระหว่างสมาชิก
            -  สนับสนุนการมีส่วนร่วมและกระตุ้นการแสดงความคิดเห็นของสมาชิก
            -  มีการจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของปัญหา
            -  ช่วยให้การประชุมบรรลุผลในระยะเวลาที่สมควร
            -  มีหลักฐานการประชุมแน่ชัด

แบบฝึกหัดบทที่ 7
1.  จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการและการตัดสินใจ
ตอบ  การจัดการก็คือ กิจกรรมต่างๆที่แต่ละองค์การจะต้องทำ เช่น การเข้าประชุม การวางแผนงาน                  การติดต่อกับลูกค้า จัดงานเลี้ยงเปิดตัวสินค้า โดยที่ Henri Fayol ซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศส ได้กล่าวถึงหน้าที่หลักในการจัดการไว้ 5 ประการด้วยกันคือ การวางแผน การจัดองค์การ การประสานงาน การตัดสินใจและการควบคุม จะเห็นว่าการตัดสินใจก็เข้ามามีบทบาทสำคัญเช่นกัน  องค์การจะประสบความสำเร็จหรือประสบความล้มเหลวในการดำเนินกิจการต่างๆ นับว่ามีส่วนขึ้นอยู่กับการตัดสินใจ การเลือกโอกาส หรือแก้ปัญหาของผู้บริหารเป็นสำคัญ

2.  เราสามารถจำแนกการตัดสินใจภายในองค์การออกเป็นกี่ระดับ อะไรบ้าง
ตอบ  3 ระดับ คือ
            -  การตัดสินใจระดับกลยุทธ์
            -  การตัดสินในระดับยุทธวิธี
            -  การตัดสินใจระดับปฏิบัติการ

3.  เราสามารถแบ่งกระบวนการตัดสินใจออกเป็นกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง
ตอบ   3 ขั้นตอน คือ
            -  การใช้ความคิดประกอบเหตุผล
            -  การออกแบบ
            -  การคัดเลือก

4.  การตัดสินใจมีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ  มี 3 ประเภท คือ
            -  การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง
            -  การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง
            -  การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง

5.  การตัดสินใจภายใต้ความไม่แน่นอน และการตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
ตอบ  เป็นการตัดสินใจเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำ ไม่อาจจะวางแผนไว้ก่อนล่วงหน้า และมักจะเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลากหลาย ตลอดจนมีความสัมพันธ์กับอนาคต
6.  จงอธิบายความหมายของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ตอบ  ระบบสารสนเทศที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ โดยที่ระบบนี้จะรวบรวมข้อมูลและแบบจำลองในการตัดสินใจที่สำคัญ เพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง

7.  DSS มีส่วนประกอบอะไรบ้าง จงอธิบายอย่างละเอียด
ตอบ    1  อุปกรณ์ เป็นส่วนประกอบแรกและเป็นโครงสร้างพื้นฐานของ DSS โดยอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
                 - อุปกรณ์ประมวลผล 
                 - อุปกรณ์สื่อสาร
                 - อุปกรณ์แสดงผล DSS
            2  ระบบการทำงาน มีนักวิชาการหลายท่านให้ความเห็นว่า ระบบการทำงานเป็นส่วนประกอบหลักของ DSS เพราะถือว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญในการที่จะทำให้ DSS ทำงานได้ตามวัตถุประสงค์และความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งระบบการทำงานจะประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วนดังนี้
                 - ฐานข้อมูล
                 - ฐานแบบจำลอง
                 - ระบบชุดคำสั่งของ DSS
            3  ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกส่วนของ DSS ไม่ว่า DSS จะประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย และได้รับการออกแบบระบบการทำงานให้สอดคล้องกันและเหมาะสมกับการใช้งานมากเพียงใด ถ้าข้อมูลที่นำมาใช้ในการประมวลผลไม่มีคุณภาพเพียงพอ แล้วก็จะไม่สามารถช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้ใช้ได้อย่างเหมาะสม
            4  บุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เนื่องจากบุคคลจะเกี่ยวข้องกับ DSS ตั้งแต่การกำหนดปัญหาและความต้องการ การพัฒนา การออกแบบและการใช้ DSS ซึ่งเราสามารถแบ่งบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ DSS ออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้
                 - ผู้ใช้
                 - ผู้สนับสนุน
8.  การพัฒนา DSS มีความเหมือนหรือความแตกต่างจากการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการประเภทอื่นอย่างไร
ตอบ  DSS จะแตกต่างจากระบบสารสนเทศสำหรับการปฏิบัติการที่แลกเปลี่ยน เก็บรวบรวม และประมวลผลข้อมูลคือ DSS จะจัดการกับข้อมูลให้เป็นสารสนเทศที่เหมาะสมกับการตัดสินใจของผู้ใช้ โดย DSS จะใช้ข้อมูลที่ประมวลผลจากระบบการปฏิบัติการมาจัดระเบียบ และวิเคราะห์ตามคำสั่งและความสนใจของปัญหา นอกจากนี้ DSS ยังช่วยเร่งพัฒนาการและความเข้าใจในศักยภาพการทำงานของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ครอบคลุม มากกว่าการปฏิบัติงานประจำวัน

9.  ปัจจุบันองค์การสามารถพัฒนา DSS อย่างไร
ตอบ    -  การวิเคราะห์ระบบ เป็นขั้นตอนแรกในการพัฒนา DSS โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะกำหนดถึงปัญหา ตลอดจนวิเคราะห์หาขั้นตอนที่สำคัญในการตัดสินใจแก้ปัญหานั้นๆ
            -  การออกแบบระบบ จะเป็นระบบสารสนเทศที่มีความพิเศษในตัวเองที่สามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปเรื่อยๆ ผู้ออกแบบควรจะออกแบบให้ระบบมีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับตัวได้ตามความเหมาะสมและมีความสะดวกต่อผู้ใช้
            -  การนำไปใช้ DSS จะแตกต่างจากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการโดยทั่วไป ที่ผู้ใช้จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบจากแรกเริ่มต้นจนถึงสภาวะปัจจุบัน และจะพัฒนาต่อไปในอนาคต

10.  จงอธิบายความหมายและประโยชน์ของระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับกลุ่ม (GDSS)
ตอบ  ประโยชน์ของ GDSS มีดังนี้
            -  ช่วยในการเตรียมความพร้อมในการประชุม
            -  มีการจัดเตรียมข้อมูลและสารสนเทศที่เหมาะสมในการประชุม
            -  สร้างบรรยากาศในการร่วมมือกันระหว่างสมาชิก
            -  สนับสนุนการมีส่วนร่วมและกระตุ้นการแสดงความคิดเห็นของสมาชิก
            -  มีการจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของปัญหา
            -  ช่วยให้การประชุมบรรลุผลในระยะเวลาที่สมควร
            -  มีหลักฐานการประชุมแน่ชัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น