วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สรุป-แบบฝึกหัดบทที่ 1-5

สรุป บทที่ 1: เทคโนโลยีสารสนเทศ          
 เทคโนโลยีสารสนเทศมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการคือ ระบบประมวลผล ระบบสื่อสารโทรคมนาคม และการจัดการเทคโนโลยีและข้อมูลอย่างเป็นระบบ การใช้งานระบบสารสนเทศไม่เพียงเป็นระบบข้อมูลภายในองค์กร แต่การติดต่อสื่อสารและการจัดการสารสนเทศได้บูรณาการปัจจัยภายนอก เช่น ผู้ขายวัตถุดิบ ลูกค้า และบุคคลอื่นที่มีผลต่อการเข้าด้วยกันคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 4 ส่วนคือ หน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำ และหน่วยแสดงผล คอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ และไมโครคอมพิวเตอร์
          ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นชุดคำสั่งที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารและสั่งงานคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่เราสามารถจำแนกชุดคำสั่งออกเป็น 2ประเภท คือ ชุดคำสั่งสำหรับระบบ และชุดสั่งประยุกต์ โดยชุดคำสั่งถูกเขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ติดต่อสารระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ปกติภาษาคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นภาษาเครื่องและภาษาที่ใกล้เคียงมนุษย์ โดยภาษาที่ใกล้เคียงภาษามนุษย์ยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ระดับ ภาษาระดับต่ำ เช่น แอสเซมบลี และภาษาระดับสูง เช่น ฟอร์แทรน เป็นต้น
          ภาษาในยุคที่ 4 หรือ ภาษา 4GL เป็นภาษาระดับสูงที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานเฉพาะอย่าง เช่น ฐานข้อมูล การประมวลเอกสาร และการจัดตาราง เป็นต้น  ปัจจุบันได้มีการพัฒนาภายในยุคที่ 5 หรือ  5GL ที่มีศักยภาพสูง ซึ่งช่วยให้การทำงานของผู้ใช้มีประสิทธิภาพขึ้น

แบบฝึกหัดบทที่  1
1.จงอธิบายความหมายและส่วนประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
            ตอบ  เทคโนโลยีสารสนเทศ  หมายถึงเทคโนโลยีที่ประกอบขึ้นด้วยระบบจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลระบบสื่อสารโทรคมนาคม  และอุปกรณ์สนับสนุนการปฏิบัติงานด้านสารสนเทศที่มีการวางแผน  จัดการ  และใช้งานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ  เราจะเห็นว่าความหมายดังกล่าวเป็นความหมายที่กว้างและไม่ได้กำหนดรายละเอียดที่ชัดเจน  เนื่องจากการพลวัตของเทคโนโลยีที่รวดเร็วส่งผลให้เราไม่สามารถกล่าวอย่างเฉพาะเจาะจง  อย่างไรก็ดี  เราสามารถกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศต้องมีองค์ประกอบสำคัญ  3  ประการดังต่อไปนี้
            1.ระบบประมวลผลความซับซ้อนในการปฏิบัติงานและความต้องการสานสนเทศที่หลากหลาย  ทำให้การจัดการและการประมวลผลข้อมูลด้วยมือไม่สะดวก  ล่าช้า  และอาจผิดพลาดได้
            2.ระบบสื่อสารโทรคมนาคม การสื่อสารข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการจัดการและประมวลผล  ตลอดจนการใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ
            3.การจัดการข้อมูล  ปกติบุคคลที่ให้ความสนใจกับเทคโนโลยีจะอธิบายความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ  โดยให้ความสำคัญกับส่วนประกอบ  2 ประการแรก  แต่ผู้สนใจด้านการจัดการข้อมูล  (Data/Information  Management)  จะให้ความสำคัญกับส่วนประกอบที่  3  ซึ่งมีความเป็นศิลปะในการจัดรูปแบบ  และการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
2.เหตุใดการจัดการข้อมูลจึงเป็นส่วนประกอบสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
            ตอบ  สาเหตุที่การจัดการข้อมูลเป็นส่วนประกอบสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ  เนื่องจากมีความเป็นศิลปะในการจัดรูปแบบ  และการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ 
3.หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) มีหน้าที่อะไร และสามารถเปรียบเทียบกับอวัยวะส่วนใดของมนุษย์
            ตอบ  หน่วยประมวลผลกลาง  (Central  Processing  Unit)  หรือที่เรียกว่า  “CPU”  ได้รับการยอมรับว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์  โดยที่เราสามารถเปรียบเทียบ  “CPU”  กับสมองของมนุษย์ที่มีหน้าที่หลัก  2  ประการคือ
            -ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
            -คำนวณและเปรียบเทียบข้อมูล
4.เราสามารถจำแนกคอมพิวเตอร์ออกเป็นกี่ประเภท  อะไรบ้าง
            ตอบ  ประเภทของคอมพิวเตอร์เราสามารถจำแนกออกเป็น  4  ประเภทดังนี้
            1.ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์  (Supercomputer)  เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่  มีประสิทธิภาพในการประมวลผลและมีความเร็วสูง
            2.เมนเปรมคอมพิวเตอร์  (Mainframe)  เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยความจำและระบบประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่สามารถต่อเข้ากับอุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก  เนื่องจากมีศักยภาพสูง  และมีความสามารถในการทำงานที่ซับซ้อนในเวลาที่รวดเร็ว
            3.มินิคอมพิวเตอร์  (Minicomputer)  เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับงานสารสนเทศ  สำหรับองค์การที่ต้องการการประมวลผลข้อมูลในระดับปานกลาง
            4.ไมโครคอมพิวเตอร์  (Microcomputer)  หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล  คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลจะมีศักยภาพค่อนข้างต่ำ  ทำให้ไม่สามารถนำไปประยุกต์ในงานทางธุรกิจที่ซับซ้อนและหลากหลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
5.เหตุใดจึงมีผู้กล่าวว่า  คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องจักรที่เปลี่ยนแปลงโลก  และท่านเห็นด้วยกับความคิดเห็นนี้ด้วยหรือไม่  เพราะเหตุใด
ตอบ  ไม่เห็นด้วย  เพราะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียว คงไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและรุนแรงในสังคมได้ เหมือนอย่างที่เราเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ถ้าขาดเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมมาสนับสนุน ปัจจุบันเราสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่องค์การได้หลากหลาย ตั้งแต่การปฏิบัติงานประจำวัน การวางแผนยุทธวิธีและการกำหนดกลยุทธ์ธุรกิจโดยเทคโนโลยีสื่อสารจะช่วยเพิ่มผลิตและทางเลือกในการสื่อสาร และการจัดการข้อมูล
6.ชุดคำสั่งและภาษาคอมพิวเตอร์คืออะไร  และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
ตอบ  ชุดคำสั่งที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสาร และสั่งงานคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยชุดคำสั่งจะทำหน้าที่สั่งงานและควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานที่กำหนด
          ภาษาคอมพิวเตอร์ เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร สารระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างสะดวกราบรื่น 
          มีความสัมพันธ์ คือ ชุดคำสั่งสำหรับใช้งานและควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ จะถูกเขียนขึ้นจากภาษาคอมพิวเตอร์ ในระยะเริ่มต้นของการพัฒนาและการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งาน ผู้ใช้จำเป็นที่จะต้องทำการเรียนรู้ภาษาเครื่อง ซึ่งเป็นภาษาเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละระบบ เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างดี
7.ภาษายุคที่   4  หรือ  4GL  เป็นอย่างไร  และมีความแตกต่างจากภาษาคอมพิวเตอร์ในอดีตอย่างไร
ตอบ  ภาษาในยุคที่ 4 จะเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาให้ง่ายต่อการเรียนรู้และการนำไปใช้งาน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เขียนชุดคำสั่งและผู้ใช้ที่มีความรู้จำกัดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
8.จงยกตัวอย่างและอธิบายรายละเอียดของเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่เป็นประโยชน์ต่องานสารสนเทศขององค์การ
ตอบ  การสื่อสารข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการจัดการและประมวลผล ตลอดจนการใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศที่ดีต้องประยุกต์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ในการสื่อสารข้อมูลระหว่างระบบคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และผู้ใช้ที่อยู่ห่างกัน ให้สื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ


สรุป บทที่ 2 : ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
             ข้อมูล   หมายถึง  ข้อมูลที่ถูกรวบรวมจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก โดยข้อมูลดิบจะยังไม่มีความหมายในกานนำไปใช้ประโยชน์หรือตรงตามความต้องการของผู้ใช้ ขณะที่สารสนเทศ หมายถึงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลดิบที่ถูกจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ โดยผลลัพธ์ที่สามารถนำไปประกอบการทำงานหรือสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารข้อมูลที่มีคุณภาพต้องมีคุณสมบัติดั้งนี้ ถูกต้อง ทันเวลา สอดคล้องกับงานสามารถตรวจสอบได้
            ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการหมายถึงระบบที่รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การอย่างมีหลักเกณฑ์ เพื่อนำมาประมวลผลให้ได้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการทำงานและการตัดสินใจของผู้บริหารในด้านต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินงานขององค์การเป็นไปอย่างประสิทธิภาพ
            ปัจจุบันการตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง ผู้จัดการระดับกลาง และหัวหน้าพนักงานระดับปฏิบัติงาน ต่างเกี่ยวข้องกับสารสนเทศทั้งโดยตรงและทางอ้อม โดยมีระดับการใช้งานสำคัญที่แตกต่างกัน อย่างงไรก็ดี ผู้จัดการทุกคนต่างต้องมีความรับผิดชอบในการใช้งานระบบสานสนเทศขององค์การ
                หน่วยการสารสนเทศอาจเป็นหน่วยงานอิสระหรือขึ้นตรงกับหน่วยงานหลัก เช่น การเงิน การตลาด หรือปฏิบัติการ ตลอดจนอาจถูกจัดตั้งแยกออกจากองค์การตามความเหมาะสมและความต้องการสารสนเทศ อย่างไรก็ดี การจัดการองค์การภายในหน่วยงานสารสนเทศจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ หน่วยวิเคราะห์และออกแบบระบบ หน่วยเขียนชุดคำสั่ง และหน่วยปฏิบัติการและระบบ

แบบฝึกหัดบทที่  2

1.นิยามความหมายและยกตัวอย่างของระบบสารสนเทศเพื่อกรจัดการ
ตอบ  ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ  (Management  Information  System)  หรือ  MIS  หมายถึงระบบที่รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง    ทั้งภายในและภายนอกองค์การอย่างมีหลักเกณฑ์  เพื่อนำมาประมวลผลและจัดรูปแบบให้ได้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการทำงาน  และการตัดสินใจในด้านต่าง    ของผู้บริหาร
2.ข้อมูลและสารสนเทศมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ  ข้อมูล  (Data)  หมายถึงข้อมูลดิบ  (Raw  Data)  ที่ถูกเก็บรวบรวมจากแหล่งต่าง    ทั้งภายในและภายนอกองค์กร  ส่วนสารสนเทศ  (Information)  หมายถึงผลลัพธ์ที่เกิดจากการประมวลผลข้อมูลดิบที่ถูกจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ  แต่อย่างไรก็ดี  ข้อมูลและสารสนเทศสามารถใช้ทดแทนกันในหลายโอกาส   แต่บางครั้งอาจมีความหมายที่แตกต่างกันมาก  เนื่องจากความเจาะจงในการใช้งาน 
3.สารสนเทศที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร
ตอบ  การพัฒนาระบบสารสนเทศต้องคำนึงถึงคุณสมบัติสำคัญของ  MIS ดังต่อไปนี้
                       1.ความสารถในการจัดการข้อมูล  (Data Manipulation)
                       2.ความปลอดภัยของข้อมูล  (Data Security) 
                       3.ความยืดหยุ่น  (Flexibility) 
                       4.ความพอใจของผู้ใช้งาน  (User Satisfaction)
4.ระบบสารสนเพทศเพื่อการจัดการมีประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจอย่างไร
ตอบ  ประโยชน์ของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมีดังนี้
            1.ช่วยให้ผู้ใช้สารมารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์
            2.ช่วยผู้ใช้ในการกำหนดเป้าหมายกลยุทธ์และการวางแผนปฏิบัติการ
            3.ช่วยผู้ใช้ในการตรวจสอบผลการดำเนินงาน
            4.ช่วยผู้ใช้ในการศึกษาและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
            5.ช่วยให้ผู้ใช้มารถวิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้น
            6.ช่วยลดค่าใช้จ่าย  ระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้ธุรกิจลดเวลา  แรงงานและค่าใช้จ่ายในการทำงาน
5.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่มีประสิทธิภาพต้องประกอบด้วยคุณสมบัติอะไรบ้าง
ตอบระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพจะจัดระบบสารสนเทศในองค์การให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้  ซึ่งจะทำให้การปฏิบัติงานและการแก้ปัญหาสะดวก  รวดเร็ว  และถูกต้อง
6.บุคคลที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมีกี่ระดับ  อะไรบ้าง
ตอบ  บุคคลที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมี  3  ระดับ  ดังต่อไปนี้
1.หัวหน้างานระดับต้น  (First-Line Supervisor หรือ  Operation Manager) 
2.ผู้จัดการระดับกลาง  (Middle Manager) เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่ควบคุมการประสานงานระกว่างหัวหน้างานระดับปฏิบัติการและผู้บริหารระดับสูง
3.ผู้บริหารระดับสูง  (Executive หรือ Top Manager) เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำการกำหนดวิสัยทัศน์  ทิศทาง  วางนโยบาย  และแผนงานระยะยางขององค์การ
7.จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการใช้งานระบบสารสนเทศและระดับของผู้บริหารในองค์การ
ตอบ                แสดงความสัมพันธ์ของระบบสารสนเทศกับระดับผู้บริหาร


ลักษณะของระบบ
ระดับของผู้ใช้
ผู้จัดการระดับปฏิบัติการ
ผู้จัดการระดับกลาง
ผู้จัดการระดับสูง
-ที่มาของสารสนเทศ
-ภายใน
-ภายใน
-ทั้งภายในและภายนอก
-วัตถุประสงค์ของการใช้สารสนเทศ
-ปฏิบัติงาน
-ควบคุมผลปฏิบัติงาน
-วางแผน
-ความถี่ของการใช้สารสนเทศ
-สูง
-ปานกลาง
-ไม่แน่นอน
-ขอบเขตของสารสนเทศ
-แคบแต่ชัดเจน
-ค่อนข้างกว้าง
-กว้าง
-ความละเอียดของสารสนเทศ
-มาก
-สรุปกว้างๆ
-สรุปชัดเจน
-การายงานเหตุการณ์
-ที่เกิดขึ้นแล้ว
-เกิดแล้ว/กำลังจะเกิด
-อนาคต
-ความถูกต้องของสารสนเทศ
-สูง
-ปานกลาง
-ตามความเหมาะสม




8.ผู้บริหารควรมีบทบาทต่อการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การอย่างไร
ตอบ  ผู้บริหารควรมีบทบาทต่อการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การดังนี้
            1.การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสร้างประสิทธิภาพ  และความพร้อมในการแข่งขันให้กับองค์การ
            2.เข้าใจความต้องการของระบบและองค์การในสภาพแวดล้อมยุคโลกาภิวัตน์
            3.ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพในการดำเนินงานทั่วทั้งองค์การ
            4.มีส่วนร่วมในการออกแบบและการพัฒนาโครงสร้างระบบสารสนเทศรวมขององค์การ
            5.บริหารและตัดสินใจในการสรรหาและคัดเลือกเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารโทรคมนาคม
9.โครงสร้างของหน่วยงานสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ส่วน  อะไรบ้าง
ตอบ  โครงสร้างของหน่วยงานสารสนเทศในองค์การจะแบ่งเป็น  3  ส่วนดังต่อไปนี้
            1.หน่วยวิเคราะห์และออกแบบระบบ  (System Analysis and  Design  Unit)  มีหน้าที่ในการศึกษา  วิเคราะห์  พัฒนา  และวางระบบงานคอมพิวเตอร์และสารสนเทศให้เหมาะสม
            2.หน่วยเขียนชุดคำสั่ง  (Programming Unit)มีหน้าที่นำระบบงานที่ได้รับการออกแบบหรือความต้องการเกี่ยวกับชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์  จากหน่วยงานอื่นมาทำการเขียนหรือพัฒนาชุดคำสั่ง
            3.หน่วยปฏิบัติการและบริการ  (Operations and  Services  Unit)  ทำหน้าที่ควบคุมและจัดการให้เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สนับสนุน  สามารถทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
10.บุคลากรของหน่วยงานสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ประเภท  อะไรบ้าง
ตอบ  บุคคลการของหน่วยงานสารสนเทศแบ่งออกเป็น  7  ประเภทดังนี้
            1.หัวหน้าพนักงานสารสนเทศ  (Chief  Information  Officer )  หรือที่นิยมเรียกว่า  CIO  เป็นบุคลากรระดับสูงขององค์การ
            2.นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ  (System  Analysis  and  Design)  หรือที่นิยมเรียกว่า  SA  มีหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบงานในระดับต่าง 
            3.ผู้เขียนชุดคำสั่ง   (Programmer)  เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่เขียนชุดคำสั่ง  เพื่อควบคุมและสั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ 
            4.ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์  (Computer  Operator)  ทำหน้าที่ดูแลและควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
            5.ผู้จัดตารางเวลา  (Scheduler)  ทำหน้าที่จัดตารางเวลาการใช้คอมพิวเตอร์ให้กับงานแต่ละชนิดภายในห้องคอมพิวเตอร์
            6.พนักงานจัดเก็บและรักษา  (Librarian)  เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่เก็บรักษาและจัดทำรายการของอุปกรณ์
            7.พนักงานจัดเตรียมข้อมูล  (Data  Entry  Operator)  ทำหน้าที่ในการนำข้อมูลจากเอกสารเบื้องต้น  มาจัดให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำความเข้าใจได้
11.เพราะเหตุใดผู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศจะต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับจริยธรรมและจรรยาบรรณ
ตอบ    เทคโนโลยีสารสนเทศ  (Information  Technology)  หรือที่เรียกว่า  IT  ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม  อีกทั้ง  IT  มีอิทธิพลอย่างมากในเรื่องการกระจายอำนาจ  ทรัพย์สิน  สิทธิและความรับผิดชอบ  การพัฒนา  IT  ทำให้เกิดผู้แพ้  ผู้ชนะ  ผู้ได้ประโยชน์  หรือผู้เสียประโยชน์  จะเห็นว่าระบบข้อมูลสารสนเทศนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการดูแลรักษาความปลอดภัยของข้อมูล  รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง  โดยแผนกหรือฝ่ายสารสนเทศเพื่อการจัดการจะมีนโยบายที่แน่นอนในการจัดการข้อมูลให้เกิดความปลอดภัย  ใช้อย่างถูกต้องและเป็นประโยชน์  จึงเป็นสิ่งสำคัญของผู้ทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ  ที่จะต้องตระหนักและให้ความสำคัญ
12.จงอธิบายตัวอย่างผลกระทบทางบวกและทางลบของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ  ผลกระทบทางบวกมีดังนี้
            1.เพิ่มความสะดวกสบายในการสื่อสาร  การบริหาร  และการผลิต
            2.เกิดสังคมแห่งการสื่อสารและสังคมโลก
            3.มีระบบผู้เชี่ยวชาญต่าง    ในฐานข้อมูลความรู้ 
            4.เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างโอกาสให้คนพิการ  หรือผู้ด้อยโอกาสจากการพิการทางร่างกาย
            5.พัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยเกิดการศึกษาในรูปแบบใหม่
            6.การทำงานเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
            7.ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากการบริโภคสินค้าที่หลากหลายและมีคุณภาพดีขึ้น
          ผลกระทบทางลบมีดังนี้
            1.ก่อให้เกิดความเครียดขึ้นในสังคม
            2.ก่อให้เกิดความการรับวัฒนธรรมหรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของคนในสังคมโลก
            3.ก่อให้เกิดผลด้านศีลธรรม
            4.การมีส่วนร่วมของคนในสังคมลดน้อยลง
            5.การละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล
            6.เกิดช่องว่างทางสังคม
            7.เกิดการต่อต้านเทคโนโลยี
            8.อาชญากรรมบนเครือข่าย
            9.ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ

สรุป  บทที่ 3 ระบบย่อยของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
        ระบบปฏิบัติการทางธุรกิจหรือที่เรียกว่า  tps หมายถึงระบบสารสนเทศที่ถูก ออกแบบและพัฒนาขึ้นโดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์  โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นอุปกรณ์หลักของระบบ  เพื่อให้ทำงานเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานภายในองค์การประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยที่tps จะช่วยสนับสนุนให้การดำเนินในแต่ละวัขององค์การเป็นไปอย่างเรียบร้อยและเป็นระบบ  นอกจากนี้  tps ยังช่วยให้ผู้ใช้สารสนเทมาอ้างอิงอย่างสะดวกและถูกต้องอนาคต
         ระบบจัดทำรายงานสำหรับการจัดการหรือที่เรียกกว่า  mrs  หมายถึง  ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อรวบรวม  ประมวลผล  จัดระบบ  และจัดทำรายงาน  หรือเอกสารสำหรับช่วยในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร  เนื่องจากงานที่ถูกทำอย่างเป็นระบบจะช่วยให้การบริหารงานอย่างมีประประสิทธิภาพ  โดยที่ mrs  จะจัดทำรายงานหรือเอกสาร  และส่งต่อไปยังฝ่ายจัดการตามระยะเวลาที่กำหนด  หรือตามความต้องการของผู้บริหาร  โดยทั่วไปแล้วการทำงานของ mrs จะถูกใช้สำหรับการวางแผน  การตรวจสอบ  และการควบคุมการจัดการ  ขณะที่ tps จะรวบรวมและแสดงกิจกรรมในการดำเนินงานเท่านั้น
        ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ  หรือที่เรียกว่า  dss  หมายถึง  ระบบที่จัดหาหรือจัดเตรียมสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร  เพื่อจะช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหาหรือเลือกโอกาสที่เกิดขึ้น  ปกติปัญหาของผู้บริหารจะมีลักษณะที่เป็นกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง  ซึงยากต่อการวางแนวทางรองรับหรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในอนาคต  ประการสำคัญ dss  จะไม่ทำการตัดสินใจให้กับผู้บริหาร  แต่จะจัดหาและประมวลสารสนเทศหรือสิ่งต่างๆ ที่คิดว่าจำเป็นต่อการตัดสินใจให้กับผู้บริหาร  ปัจจุบัน dss  เป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจจากบุคคลหลายฝ่าย  หรือเราจะนำเสนอรายละเอียดในบทต่อไป
        ระบบสารสนเทศสำนักงานหรือที่เรียกว่า  ois  หมายถึง  ระบบที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นใช้ช่วยการทำงานในสำนักงาน  โดยที่  ois จะประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสารสนเทศและใช้เทคโนโลยีเครื่องใช้สำนักงานเพิ่มผลผลิต  และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในสำนักงาน  โดยสามารถกล่าวอีกนัยคือ  oisมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารระหว่างพนักงานภายในองค์การเดียวกัน  และระหว่างองค์การ  รวมทั้งการติดต่อกับสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ

แบบฝึกหัดบทที่3
1.จงตอบคำถามข้อย่อยต่อไปนี้
   1.1  อธิบายความหมายของระบบปฏิบัติการทางธุรกิจ (TPS)
ตอบ  ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อให้ทำงานเกี่ยวกับการดำเนนงาน ภายในองค์กร โดยใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ เข้ามาเป็นอุปกรณ์หลักของระบบ โดยที่ TPS จะช่วยสนับสนุนให้การดำเนินงานในแต่ละวันของ องค์การเป็นไปอย่างเรียบร้อยเป็นระบบ โดยเฉพาะปัจจุบันที่การดำเนินงานในแต่ละวันมักจะเกี่ยวข้องกับข้อมูลเป็น จำนวนมากอีกทั้งยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรียกสารสนเทศอ้างอิงอย่างสะดวกและถูกต้องใน อนาคต
   1.2  หน้าที่หลักของ TPS มีอะไรบ้าง
ตอบ 1.การทำบัญชี  (Bookeeping) ทำหน้าที่ในการเก็บบันทึกการปฏิบัติงานหรือเหตุการณ์ทางการบัญชีที่เกิดขึ้น ในแต่ละวันขององค์การ โดยการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นมักจะเกี่ยวข้องกับบุคคล 2 กลุ่มคือ ลูกค้า (Customer) และผู้ขายวัตถุดิบ (Supplier) โดยที่องค์การต้องมการลงบันทึกรายการขายสินค้าในแต่ละวัน และบันทึกรายการซื้อสินค้าเข้าร้าน เป็นต้น
             2.การอออกแบบเอกสาร(Document Issuance) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการออกแบบเอกสาร   ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในแต่ละวันขององค์การ                 
             3.การทำรายงานควบคุม (Control Reporting) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเก็บเอกสารต่าง ๆ ที่มีผลมาจากการดำเนินงานขององค์การ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบและควบคุมการดำเนินงานขององค์การ
           1.3  อธิบายส่วนประกอบของวงจรการทำงานของ TPS ว่าแตกต่างจากระบบจัดออกรายงาน     สำหรับการจัด MRS อย่างไร
              ตอบ
TPS และ MRS ข้อแตกต่างคือ MRS จะออกรายงานที่มีวัตถุประสงค์สำหรับสนับสนุนการบริหารและการจัดการของผู้ บริหาร ขณะที่ TPS จะออกรายงานที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อแสดงและควบคุมการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นในแต่ละวันต่อองค์การ
2. จงตอบคำถามข้อย่อยต่อไปนี้
  2.1 อธิบายความหมายของระบบจัดทำรายงานเพื่อการจัดการ (MRS)
ตอบ ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อรวบรวม ประมวลผล จัดระบบ และจัดทำรายงาน หรือเอกสารสำหรับช่วยในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร เนื่องจากรายงานที่ถูกทำอย่างเป็นระบบจะช่วยให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ
2.2 รายงานที่ออกระบบ MRS มีกี่ประเภท และอะไรบ้าง ? จงอธิบายอย่างละเอียด
ตอบ 4 ประเภท
                    1.รายงานที่ออกตามตาราง(Schedule Report) เป็นรายงานที่จัดทำขึ้นตามระยะเวลาที่กำหนดแน่นอน เช่น ประจำวัน ประจำสัปดาห์ หรือประจำเดือน เป็นต้น
                    2. รายการที่ออกในกรณีพิเศษ (Exception Report) เป็นราบงานที่จัดทำขึ้นเมื่อมีสิ่งผิดปกติหรือปัญหาเฉพาะหน้าเกิดขึ้น โดยการนำเสนอรายงานพิเศษมีวัตถุประสงค์ต้องการให้ผู้บริหารรับทราบ ใจละทำการตัดสินใจแก้ไขและควบคุมผลประโยชน์ขององค์การ เช่น รายชื่อลูกค้าที่ค้างชำระ เป็นต้น
                   3. รายการที่ออกตามความต้องการ (Demand Report) เป็นรายการที่จัดทำขึ้นตามความต้องการของผู้บริหาร ซึ่งรายงานตามความต้องการจะแสดงข้อมูลเฉพาะเรื่องที่ผู้บริหารต้องการทราบ เพื่อให้ผู้บริหารเกิดความเข้าใจในปัญหาและสามารถตัดสินใจอย่างเหมาะสม
                  4. รายงานที่ออกเพื่อพยากรณ์ (Predictive Report) เป็นรายงานที่ใช้ข้อสารสนเทศช่
วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร การพยากรณ์จะอาศัยเทคนิคการวิเคราะห์ทางสถิติและคณิตศาสตร์
 2.3 สิ่งที่ควรมีในรายงานที่ออกโดยระบบ MRS มีอะไรบ้าง ?
         ตอบ       1. ตรงประเด็น (Relevance)
                        2. ความถูกต้อง (Accuracy)
                        3. ถูกเวลา (Timelinrss)
                        4.สามารถพิสูจน์ได้ (Verifiability)
 2.4 คุณสมบัติที่ดีของระบบ MRS มีอะไรบ้าง ? จงอธิบายอย่างละเอียด
          ตอบ      สนับสนุนการตัดสินใจ
                       -  ผลิตรายงานตามตารางที่ กำหนด
                       -  ผลิตรายงานตามรูปแบบที่กำหนด
                        -  รวบรวมและประมวลผลข้อมูล
                       -   ผลิตรายงานออกมาในรูปกระดาษ

 3. จงอธิบายความหมายของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS)
ตอบ     ระบบสารสนเทศที่จัดหาหรือจัดเตรียมข้อมูลสำคัญสำหรับผู้บริหาร    เพื่อจะช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหาหรือเลือกโอกาสที่เกิดขึ้น ปกติปัญหาของผู้บริหารจะมีลักษณะที่เป็นกึ่งโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้าง ซึ้งยากต่อการวางแนวทางรองรับหรือแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ประการสำคัญ DSS จะไม่ทำการตัดสินใจให้กับผู้บริหาร แต่จะจัดหาและประมวลสารสนเทศหรือสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นในการตัดสินใจให้กับผู้บริหารปัจจุบัน DSS ได้ รับการพัฒนาและนำไปใช้ในองค์กร เนื่องจากเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจจากบุคคลหลายฝ่าย และเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้บริหาร
   4. จงตอบคำถามข้อย่อยต่อไปนี้
4.1 อธิบายความหมายของระบบสารสนเทศสำนักงาน (OIS)
              ตอบ ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อช่วยให้การทำงานในสำนักงานมีประสิทธิภาพ โดย OIS จะประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีเครื่องใช้สำนักงานที่ถูกออกแบบให้ปฏิบัติงานในสำนักงานเกิดผล สูงสุด หรือสามารถกล่าวได้อีกนัยหนึ่งคือ ระบบสารสนเทศสำนักงานมีวัตถุประสงค์เพื่อจะอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อ สาร ระหว่างพนักงานภายในองค์กรเดียวกันและระหว่างองค์กร รวมทั้งการติดต่อกับสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ
4.2  อธิบายหน้าที่ของระบบจัดการเอกสารในระบบสารสนเทศสำนักงาน พร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ  ระบบการจัดเอกสาร ถูกพัฒนาขึ้นให้มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการจัดทำ กระจาย และเก็บรักษาเอกสารต่าง ๆ ภายในองค์กร โดยระบบจัดเอกสารจะประกอบด้วยเครื่องมือสำคัญต่อไปนี้
            -    การประมวลคำ
          -      การผลิตเอกสารหลายชุด
          -      การออกแบบเอกสาร
          -      การประมวลรูปภาพ
         -      การเก็บรักษา
4.3 อธิบายหน้าที่ของระบบควบคุมข่าวสารในระบบสารสนเทศสำนักงาน พร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ    ระบบควบคุมและส่งผ่านข่าวสาร เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อควบคุมการกระจายและการใช้งานข่าวสารในสำนักงาน โดยการจัดการข้อมูลให้เป็นระบบ ซึ่งประกอบด้วยรูปแบบในการส่งผ่านข่าวสารที่สำคัญต่อไปนี้
   -          โทรสาร
   -          ไปรษณีย์เล็กทรอนิกส์
   -          ไปรษณีย์เสียง
4.4 อธิบายหน้าที่ของระบบการประชุมทางไกลในระบบสารสนเทศสำนักงาน พร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ ระบบประชุมทางไกล เป็นระบบเชื่อมโยงบุคคลตั้งแต่ 2 คนซึ่งอยู่กันคนละที่ ให้สามารถประชุมหรือโต้ตอบกันได้ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปอยู่ในสถานที่เดียวกัน
                         -   การประชุมทางไกลที่ใช้ทั้งภาพและเสียง
                        -   การประชุมทางไกลใช้เฉพาะเสียง
                          -   การประชุมโดยใช้คอมพิวเตอร์
                        -    โทรทัศน์ภายใน
                         -    การปฏิบัติงานผ่านระบบสื่อสารทางไกล
4.5 อธิบายหน้าที่ของระบบสนับสนุนการทำงานสำนักงานในระบบสารสนเทศสำนักงาน พร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ ระบบสนับสนุนการดำเนินงานในสำนักงาน เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อช่วยให้พนักงานในสำนักงานเดียวกันใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ในสำนักงานให้ เกิดประโยชน์ในการทำงานร่วมกันอย่างเต็มที่ ซึ่งจะประหยัดค่าใช้จ่ายในการลงทุน และช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยที่เราสามารถแบ่งระบบสนับสนุนการดำเนินงานในสำนักงานออกได้เป็นระบบดัง ต่อไปนี้
-          ชุดคำสั่งสำหรับกลุ่ม
-          ระบบจัดระเบียบงาน
-          คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ
-          การนำเสนอประกอบภาพ
-          กระดานข่าวสารในสำนักงาน



สรุปบทที่ 4
                การพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นงานใหญ่ที่เกี่ยวข้องทั้งในด้านงบประมาณ ทรัพยากรขององค์การและระยะเวลา แต่สิ่งสำคัญอันดับแรกที่จะช่วยให้การพัฒนาระบบประสบความสำเร็จคือ ผู้ใช้ระบบจะต้องให้ข้อมูลแก่ทีมงานพัฒนาระบบในด้านต่างๆ คือสารสนเทศที่หน่วยงานต้องการ ระบบในปัจจุบันมีขั้นตอนในการทำงานที่ยุ่งยากและซับซ้อน และระบบปัจจุบันมีการทำงานที่ผิดพลาดบ่อยครั้ง โดยที่การพัฒนาระบบให้ประสบความสำเร็จนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้
                1.ผู้นำและผู้ใช้ระบบมีส่วนร่วมตลอดกระบวนการ
                2. การวางแผนพัฒนาระบบถูกดำเนินการอย่างถูกต้อง
                3. มีแนวทางที่แน่นอนในการออกแบบและทดสอบชุดคำสั่ง
                4. เอกสารที่ใช้ประกอบในกระบวนการพัฒนาระบบมีความสมบูรณ์
                5. มีการวางแผนและการฝึกอบรมผู้ใช้ระบบที่ดี
                6. มีการตรวจสอบหลักการติดตั้งระบบใหม่เป็นระยะ
                7. มีการวางแผนให้มีกระบวนการในการบำรุงรักษาที่ง่าย
            8. การเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคต
                ปกติทีมงานพัฒนาระบบประกอบด้วยบุคคลต่อไปนี้ คณะกรรมการ ผู้จัดการระบบสารสนเทศ ผู้จัดการโครงการ นักวิเคราะห์ระบบ นักเขียนโปรแกรม เจ้าหน้าที่รวบรวมข้อมูล และผู้ใช้และผู้จัดการทั่วไป โดยที่การพัฒนาระบบจะสามารถทำได้อยู่ 4 วิธี คือ
                1. วิธีเฉพาะเจาะจง
                2. วิธีสร้างฐานข้อมูล
                3. วิธีจากล่างขึ้นบน
                4. วิธีจากบนลงล่าง
                การพัฒนาระบบสารสนเทศจะมีกระบวนการที่ใหญ่แบ่งออกได้เป็นหลายขั้นตอน การที่จะพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพ ทีมพัฒนาระบบจะต้องเข้าใจถึงขั้นตอนของกระบวนการพัฒนาเป็นอย่างดีเพื่อให้รู้ถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของทีมงานแต่ละคน ซึ่งกระบวนการพัฒนาระบบนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ขั้นตอน คือ
                1. การสำรวจเบื้องต้น
                2. การวิเคราะห์ความต้องการ
                3. การออกแบบระบบ
                4. การจัดหาอุปกรณ์
                5. การติดตั้งระบบและการบำรุงรักษา


แบบฝึกหัดบทที่ 4
1. ผู้ใช้มีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบสารสนเทศอย่างไร
     ตอบ     1.1 สารสนเทศที่องค์การหรือหน่วยงานต้องการ แต่ยังไม่มีระบบใดในปัจจุบันที่จะช่วยให้ได้มาซึ่งข้อมูลหรือสารสนเทศนั้น
                1.2 ผู้ใช้ระบบไม่พอใจต่อสิงใด ขั้นตอนหรือส่วนประกอบใดในระบบปัจจุบัน เป็นต้นว่า ระบบเดิมมีการทำงานที่ยุ่งยากหรือมีหลายขั้นตอนในการเข้าถึงและจัดการข้อมูล ทำให้ผู้ใช้ต้องเสียเวลานานและสารสนเทศที่ได้มาอาจมีความผิดพลาดไม่ทันเวลา หรือไม่ตรงตามความต้องการ
                1.3 ผู้ใช้ระบบมีความต้องการให้ระบบใหม่มีรูปแบบและคุณลักษณะอย่างไร มีส่วนประกอบอะไรบ้าง และสามารถทำงานได้อย่างไร

2. ปัจจัยที่จะช่วยให้การพัฒนาระบบสารสนเทศให้ประสบความสำเร็จมีอะไรบ้าง
     ตอบ     1.ผู้ใช้ระบบ ผู้นำและผู้ใช้ระบบมีส่วนร่วมตลอดกระบวนการ
                2. การวางแผน การวางแผนพัฒนาระบบถูกดำเนินการอย่างถูกต้อง
                3. การทดสอบ มีแนวทางที่แน่นอนในการออกแบบและทดสอบชุดคำสั่ง
                4. การจัดเก็บเอกสาร เอกสารที่ใช้ประกอบในกระบวนการพัฒนาระบบมีความสมบูรณ์
                5. การเตรียมความพร้อม มีการวางแผนและการฝึกอบรมผู้ใช้ระบบที่ดี
                6. การตรวจสอบและการประเมินผล มีการตรวจสอบหลักการติดตั้งระบบใหม่เป็นระยะ
                7. การบำรุงรักษา มีการวางแผนให้มีกระบวนการในการบำรุงรักษาที่ง่าย
            8. อนาคต การเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคต

3. ทีมงานพัฒนาระบบสารสนเทศมีลักษณะอย่างไร ประกอบด้วยบุคคลใดบ้าง และเหตุใดจึงต้องปฏิบัติงานร่วมกันเป็นทีม
        ตอบ     มีลักษณะเป็นกลุ่มบุคคลที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบหรือมีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการพัฒนาระบบ ปกติการออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศในองค์การขนาดใหญ่จะต้องมีการทำงานร่วมกันของสมาชิกจากหลายส่วน
                ประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้
1.คณะกรรมการการดำเนินงาน มีหน้าที่ ตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของโครงการพัฒนาระบบ
2. ผู้จัดการระบบสารสนเทศ เป็นบุคคลที่สำคัญมีหน้าที่ดูแลและประสานงานในการวางแผนงาน
3. ผู้จัดการโครงการ มีหน้าที่ รับผิดชอบในการวางแผน การจัดการ และควบคุมงาน
4. นักวิเคราะห์ระบบ เป็นบุคคลสำคัญที่ก่อให้เกิดผลงานขึ้นในขั้นตอนต่างๆของการพัฒนาระบบ
5. นักเขียนโปรแกรม ทำหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาชุดคำสั่งการดำเนินงานให้กับระบบที่กำลังพัฒนา
6. เจ้าหน้าที่รวบรวมข้อมูล ทำหน้าที่ ช่วยเหลือนักวิเคราะห์ระบบและนักเขียนโปรแกรมในการพัฒนาระบบ
7. ผู้ใช้และผู้จัดการทั่วไป เป็นบุคคลที่ให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบงาน
                เหตุที่ต้องปฏิบัติงานร่วมกันเป็นทีม เนื่องจากกระบวนการปฏิบัติงานที่ซับซ้อน และขอบเขตการงานที่หลากหลายครอบคลุมไปหลายส่วนงาน ดังนั้นความรู้ ทักษะ และความเข้าใจเพียงคนเดียวจึงไม่เพียงพอ

4. วิธีพื้นฐานที่ใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศมีกี่วิธี อะไรบ้าง
     ตอบ     วิธีพื้นฐานที่ใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศมี 4 วิธี ดังนี้
1. วิธีเฉพาะเจาะจง เป็นวิธีการแก้ปัญหาในงานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งต้องดำเนินงานอย่างรวดเร็ว
2. วิธีสร้างฐานข้อมูล เป็นวิธีการที่นิยมใช้ในหลายองค์การที่ยังไม่มีความต้องการระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
3. วิธีจากล่างขึ้นบน การพัฒนาระบบสารสนเทศจากระบบเดิมที่มีอยู่ภายในองค์การไปสู่ระบบใหม่ที่ต้องการ
4. วิธีจากบนลงล่าง เป็นการพัฒนาระบบจากนโยบายหรือความต้องการของผู้บริหารระดับสูง

5. การพัฒนาระบบสารสนเทศประกอบด้วยกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง
      ตอบ     การพัฒนาระบบสารสนเทศประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. การสำรวจเบื้องต้น
2. การวิเคราะห์ความต้องการ
3. การออกแบบระบบ
4. การจัดหาอุปกรณ์
5. การติดตั้งระบบและการบำรุงรักษา

6. ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นสำรวจเบื้องต้น
     ตอบ      การสำรวจเบื้องต้นเป็นขั้นตอนแรกของการวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยผู้พัฒนาระบบจะสำรวจหาข้อมูลในประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับระบบงาน

7. ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องกระทำอะไรบ้างในขั้นวิเคราะห์ความต้องการ
       ตอบ       การวิเคราะห์ความต้องการ เป็นขั้นตอนที่มุ่งเจาะลึกลงในรายละเอียดที่มากกว่าในขั้นสำรวจเบื้องต้น โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของผู้ใช้

8.ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องกระทำอะไรบ้างในขั้นออกแบบระบบ
      ตอบ     การออกแบบระบบ ทีมงานพัฒนาระบบจะทำการออกแบบรายละเอียดในส่วนต่างๆของระบบสารสนเทศ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดหาอุปกรณ์ต่างๆสำหรับนำมาพัฒนาระบบใหม่

9.ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องกระทำอะไรบ้างในขั้นจัดหาอุปกรณ์ของระบบ
   ตอบ         การจัดหาอุปกรณ์ของระบบจะต้องทำการกำหนดส่วนประกอบของระบบทั้งในด้านของอุปกรณ์และชุดคำสั่ง ตลอดจนการบริการต่างๆที่ต้องการจากผู้ขาย ทีมงานพัฒนาระบบจะต้องทำการจัดหาสิ่งที่ต้องการ โดยพิจารณาตัดสินข้อเสนอของผู้ขายแต่ละราย

10. ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องกระทำอะไรบ้างในขั้นติดตั้งระบบและการบำรุงรักษา
     ตอบ        การติดตั้งระบบและการบำรุงรักษาจะควบคุมและดูแลการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ของระบบใหม่โดยดำเนินการด้วยตัวเองหรือจ้างผู้รับเหมา และต้องทดสอบการใช้งานว่าระบบใหม่สามารถปฏิบัติงานได้ตรงตามวัตถุประสงค์และรูปแบบที่ได้ทำการออกแบบ



สรุป บทที่ 5 ระบบฐานข้อมูล
การแบ่งแฟ้มข้อมูลออกเป็น 2 การจัดแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ และการจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม ซึ่งแต่ละแบบจะมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้ใช้ต้องตัดสินใจเลือกแบบที่สอดคล้องกับความต้องการของงาน และปัจจัยสนับสนุนของธุรกิจ
ฐานข้อมูล หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลเข้าไว้ด้วยกันอย่างเป็นระบบและมีแผน ณ ที่ใดที่หนึ่งในองค์กร เพื่อที่ผู้ใช้จะสามารถนำข้อมูลมาประมวลผลและประยุกต์ใช้งานตามที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปกตินักวิชาการจะแบ่งโครงสร้างข้อมูลออกเป็น 2 ลักษณะคือ โครงสร้างเชิงกายภาพและโครงสร้างเชิงตรรกะ โครงสร้างเชิงตรรกะซึ่งสามารถแยกอธิบายด้วยแบบจำออกเป็น 3 ประเภท แบบจำลองการจัดข้อมูลลำดับขั้น แบบจำลองการจัดข้อมูลแบบเครือข่าย และแบบจำลองการจัดข้อมูลชิงสัมพันธ์
ระบบจัดการฐานข้อมูล หรือ DBMS หมายถึงชุดคำสั่งหรือทำหน้าที่สร้าง ควบคุมและดูแลฐานข้อมูล เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลและสามารถนำข้อมูลนั้นมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่ DBMS จะทำหน้าที่เสมือนตัวกลางระหว่าชุดคำสั่ง สำหรับการใช้งานกับหน่วยเก็บข้อมูล DBMS จะประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน ภาษาสำหรับนิยามข้อมูลหรือ DDL ภาษาสำหรับการใช้ข้อมูลหรือ DML และพจนานุกรมข้อมูล
การบริหารฐานข้อมูลจะครอบคลุมไปถึงเทคนิคการปฏิบัติในการจัดการฐานข้อมูลทั้งเชิงตรรกะและเชิงกายภาพ ตลอดจนการออกแบบ การปรับปรุง การใช้งาน และดูแลรักษาระบบฐานข้อมูลให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยบุคคลที่ทำหน้าที่บริหารฐานข้อมูลจะถูกเรียกว่า ผู้บริหารฐานข้อมูล หรือ DBA
แบบฝึกหัดบทที่ 5
1.  เราสามารถจำแนกการจัดการแฟ้มข้อมูลออกเป็นกี่แบบ อะไรบ้าง?
ตอบ    2 แบบ  คือ
1 . การจัดการแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ  (sequential  File  Organization)
2 . การจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม  (Random  File  Organization  )
2.  จงอธิบายความหมาย ตลอดจนข้อดีและข้อจำกัดของการจัดการแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม
ตอบ     - การเข้าถึงข้อมูลแบบรวดเร็ว  เนื่องจากผู้ใช้สามารถ เข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง  ไม่ต้องผ่านแฟ้มข้อมูลอื่น เหมือนการจัดการแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ
- สะดวก ในการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย  เนื่องจากการปรับ ปรุงข้อมูลทำได้โดยง่าย  ไม่จำเป็นจะต้องเรียงลำดับ หรือรอเวลา
- มีความยืดหยุ่นและเหมาะสมกับงาน  ที่ต้องการประมวลผลแบบโต้ตอบ  ตลอด จนมีระยะเวลาในการประมวลผลไม่แน่นอน
  แต่วิธีการจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่มจะมีข้อจำกัดดังตอบไปนี้
-ข้อมูล มีโอกาสผิดพลาดและสูญหาย  เนื่องจากการดำเนินงานมี ความยืดหยุ่น  ถ้าขาดการจัดการที่เป็นระบบละมี ประสิทธิภาพ  อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพในการจัดเก็บ  ความถูกต้องและความแน่นอนของแฟ้มข้อมูล
- การเปลี่ยนแปลงจำนวนระเบียนจะทำได้ลำบากกว่าวิธีเรียงลำดับ  เนื่องจากต้องจัดรูปแบบความสัมพันธ์ขึ้นใหม่
- มีค่าใช้จ่ายสูง  เนื่องจากต้องใช้อุปกรณ์ที่มี เทคโนโลยีสูง  และผู้ใช้ต้องมีทักษะในการทำงาน มากกว่าแฟ้มข้อมูลระบบเรียงลำดับ
3.  ฐานข้อมูลคืออะไร และเหตุใดจึงมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน?
ตอบ    ฐาน ข้อมูล  (Database)  หมาย ถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีแบบแผน   ที่ใดที่หนึ่งในองค์การ  เพื่อ ที่ผู้ใช้จะสามารถนำข้อมูลมาประมวลผล  และประยุกต์ ใช้งานตามที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ตัวอย่าง เช่น  องค์การจะมีบานข้อมูลของบุคลากรซึ่งเก็บข้อมูล ของพนังงานไว้รวมกัน
4. เราสามารถจำแนกแบบจำลองโครงสร้างข้อมูลเชิงตรรกะออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง?
ตอบ  3 ประเภท  คือ
1 . แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงลำดับขั้น (Hiearchical  Data  Model )
2 . แบบจำลองการจัดข้อมูลแบบเครือข่าย(Network  Data  Model  )
3 . แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงสัมพันธ์  (Relational  Data  Model  )
5. จงเปรียบเทียบประโยชน์ในการใช้งานของแบบจำลองโครงสร้างข้อมูลแต่ละประเภท?
ตอบ     5.1. ชนิดของแบบจำลอง
เชิงลำดับขั้น  เครือข่าย        เชิงสัมพันธ์
             5.2. ประสิทธิภาพการทำงาน
                                    สูง       ค่อน ข้างสูง  ต่ำ (กำลังพัฒนา)
             5.3. ความยืดหยุ่น
ต่ำ        ค่อน ข้างต่ำ  สูง หรือต่ำ
              5.4. ความสะดวกต่อการใช้งาน
                                    ต่ำ       ปานกลาง      สูง
6. ระบบจัดการฐานข้อมูลคืออะไร มีส่วนประกอบอะไรบ้าง?
ตอบ  ระบบจัดการฐานข้อมูล  หมายถึง  ชุดคำสั่งซึ่งทำหน้าที่ สร้าง  ควบคุม  และดูแลระบบ ฐานข้อมูล   เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูล  คัดเลือกข้อมูล  และสามารถนำ ข้อมูลนั้นมาใช้งานไดอย่างมีประสิทธิภาพ  โดย ที่  DBMS  จะทำหน้าที่เสมือน ตัวกลางระหว่างชุดคำสั่งสำหรับการใช้งานต่างๆ  กับ หน่วยเก็บข้อมูล  ซึ่ง DBMS ประกอบ ด้วยส่วนประกอบหลักที่สำคัญอยู่  3ส่วน คือ
1 . ภาษาสำหรับนิยามข้อมูล (Data  Definifion  Language ;DDL  )
2 . ภาษาสำหรับการใช้ข้อมูล  ( Data Manipuiation  Language; DML  )
3 . พจนานุกรมข้อมูล  (Data  Dictionary  )
7. จงอธิบายความหมายและประโยชน์ของพจนานุกรมข้อมูล
ตอบ  ผู้ที่ ต้องเกี่ยวข้องกับระบบจัดการฐานข้อมูล  เพราะจะช่วย ให้สามารถศึกษาและทำความเข้าใจระบบได้ง่าย
8. นักบริหารฐานข้อมูลมีหน้าที่สำคัญอะไรบ้าง?
ตอบ      1. กำหนดและจัดระเบียบโครงสร้างฐานข้อมูล
 2. พัฒนาขั้นตอนการรักษาความปลอดภัยของฐานข้อมูล
             3. จัดทำหลักฐานข้อมูลให้ทำงานอย่างปกติ
             4. ดูแลรักษาระบบฐานข้อมูลทำงานอย่างปกติ
 5.ประสานงานกับผู้ใช้
9. เหตุใดบางองค์การจึงต้องมีหัวหน้างานด้านสารสนเทศ (CIO) และ CIO มีหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างไร?
ตอบ   เพื่อ ความคล่องตัวในการบริหารงานและการให้บริการด้านข้อมูลสารสนเทศ  การที่องค์การเลือกใช้วิธีการจัดหน่วยงานบริหารข้อมูลแบบ ใด  ย่อมขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละหน่วยงาน  และปัจจัยแวดล้อมเป็นสำคัญ
10.  จงอธิบายแนวโน้มของเทคโนโลยีฐานข้อมูลในอนาคต
ตอบ  ระบบ ฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์  (Centralized Database System)”ซึ่งเป็นระบบที่ใช้กันมาอย่างต่อเนื่อง และยังคงได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุบัน  เนื่องจาก ความสะดวกในการจัดการและคุณสมบัติของเทคโนโลยี   ทำ ให้ระบบฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาขึ้นตามลำดับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น